วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
- ครูจะต้องทราบว่าเด็กของเราเรียนรู้
- เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
- เด็กจะเรียนได้ดีที่สุด ถ้าเราสอนแบบ Whoe Language คือ
. สอนอย่างเป็นธรรมชาติ
. สอนอย่างมีความหมายต่อเด็ก เช่น เริ่มจากคำศัพท์ที่เด็กรู้จัก คุ้นเคย
. สอนให้เด็กสามารถนำ
- เด็กจะเรียนรู้ได้ดีทีสุดมาจากการตัดสินใจ นั่นหมายถึงพร้อมที่จะรับรู้ในสิ่งที่เด็กอยากรู้ ครูจะต้องทำอย่างไรให้เด็กอยากจะเรียนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
- ไม่ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกแข่งขัน
- ครูต้องสอนทักษะไปพร้อมๆกันและเกี่ยวข้องกัน เพราะดีที่สุกคือการสอนบนพื้นฐานของธรรมชาติ
- ครูจะต้องทำให้เรียนภาษาของเด็กเป็นสิ่งที่น่าสนใจสนุกสนาน เช่น สื่อ เทคนิคการสอน วิธีการสอน เป็นต้น

ควรสอนภาษาเด็กอย่างไร
- เริ่ม
- การประเมินโดยการสังเกต ควรที่จะมีแบบสังเกต
. สามารถจำเนื้อเรื่อง
. สามารถเข้าใจความหมาย บอกซ้ำ เล่าได้
- เสนอความคิดต่อผู้ปกครอง
- ทำอย่างไรพ่อแม่จึงจะเข้าใจวิธีที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกได้
- ส่งเสริมให้เด้กเรียนอย่างกระตือรือร้น- สร้างความรู้สึกประสบความสำเร็จ ช่วยเหลือ ให้กำลังใจ
- อ่านให้เด็กฟังจากหลายๆแหล่งเช่น นิทาน บทความ รายการอาหาร- จัดประสบการณ์อ่าน และส่งเสริลงมือกระทำ
- ส่งเสริมให้เด็กกล้าลองผิด ถูก- พัฒนาทางด้านจิตพิสัย และให้เด็กรู้สึกรักในภาษา

ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการพูด
- อธิบายถึงภาพที่เห็น
- ทำท่าประกอบการพูด
- ล่านิทาน
- ลำดับเรื่องตามนิทาน
- เรียกชื่อตามนิทาน คือ ตัวละคร
- เรียกชื่อและอธิบายสิ่งของ- จำและอธิบายสิ่งของ
- อธิบายขนาดและสี

ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และเขียน
- พ่อแม่ให้เด็กสังเกต- ชักชวนลูกให้อ่านเครื่องหมายจราจร
- ชักชวนให้ลุกอ่านหนังสือพิมพ์
- ชักชวนให้เขียนคำอธิบายภาพของครอบครัวและบันทึกคำพูดของลูก
- เขียนส่วนผสมอานหารและลองปรุง
- ให้เด็กรู้จักการเขียน เช่น เขียนโน้ต
- ให้ลูกมีส่วนร่วมในการอ่านจดหมาย
- จดรายการส่งของ

การฟัง
- ฟังประกอบหุ่น
- ฟังและแยกเสยง
- ฟังเยงคำคล้องจอง
- ฟังอย่างสร้างสรรค์และวิจารย์
- ฟังแล้วทำตามคำสั่ง

ขั้นตอนการอ่านและการเขียน
ขั้นที่1
- คาดเดาภาษาหนังสือ
- แก้ไขความผิดพลาดของความหมายด้วยตนเอง
- พยายามใช้ประสบกาณณ์จากการพุดกลับมาเป็นภาษาที่ใช้อ่าน
ขั้นที่2
- แก้ไขข้อผิดพลาดในประโยคด้วยตนเอง
- ตระหนักว่าตัวหนังสือมีความคงที่
- สามารถชี้บอกคำที่เหมือนกันกันซึ่งอยู่ในหน้าเดียวกัน
- สามารถมองตามตัวอัการบนแผ่นกระดาขนาดใหญ่ได้
ขั้นที่3
- จำคำที่คุ้นเคย
- คาดคะเนความหมายจากบริบท
-ใช้วิการอ่านไปในทิศทางเดียวกันจนเป็นนิสัย
-สามารระบุบอกชื่อตัวอักษรได้เกือบหมด
ขั้นที่4
- เข้าใจเกี่ยวกับ "การเริ่มต้น" และการลงท้าย เมื่อนำมาใช้ในการเดา
-ใช้เสียงช่วงต้นของคำในการเดาคำใหม่ เช่น ก กก ก กระดาษ ก กระดาน
-ใช้คำที่รู้มาแต่งประโยช์
ขั้นที่5
-ใช้เสียนงเริ่มต้นและเสียงควบกล้ำ-สามารรู้ได้ว่าคำประบด้วยตัวอะไรบ้าง

การเขียน

ขั้นที่ 1
-ขีดเขี่ย
ขั้นที่2
- เส้นเริ่มยาว
ขั้นที่3
- เขียนเป็นรูปร่างแต่ไม่เป็นตัวอักษร
ขั้นที่4
- เขียนตัวอักษรและสัญลักษณ์
ขั้นที่5
- เขียนตัวสะกด

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552

อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับเกมการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
1. โดมิโน
2. จิกชอร์
3. เรียงลำดับภาพ
4. จับคู่ภาพ
5. การจับภาพอนุกรม
6. หน่วยที่เราสอน
7. พื้นฐานการบวก
8. รอสโต้
และอาจารย์ก็นัดเล่านิทานหุ่น

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2552

กลุ่มของดิฉันได้หัวข้อเกี่ยวกับ "การอ่านและการเขียน"

และมีการแยกหัวข้อออกมาอีกคือ
1. ฟังประกอบหุ่น
2. ฟังและแยกเสียง
3.ฟังเสียงคำคล้องจอง
4.ฟังอย่างสร้างสรรค์และวิจารย์
5.ฟังแล้วทำตามคำสั่ง

กลุ่มดิฉันนำเสนอ
หัวข้อแรกโดยการเชิดหุ่นและเล่านิทานไปด้วย
หัวข้อที่สอง ทำเสียงเหมือนเสียงสัตว์ เช่น แมว สุนัข
หัวข้อที่สาม อ่านคำคล้องจองให้เพื่อนฟัง

เลื่อยไม้ใสกบ
เลื่อยไม้ เลื่อยไม้ใสกบ นับไม้ให้ครบจะไปสร้างบ้าน
ไหนตะปู ไหนค้อน เอามาตอกโป๊ง โป๊ง
อากาศปลอดโปร่ง ช่างแสนสำราย
สร้างบ้านน้อย น้อย ให้น้องข้าอยู่
เชิญคุณย่า เชิญคุณปู มาพักนาน นาน
ฝนตกพรำ พรำ
ฝนตกพรำ พรำ แม่ดำกางร่ม
แกเดินก้มก้ม อยู่ข้างกำแพง
พอเดี๋ยวแดดออก ไปบอกแม่แดง
ฉันไม่มีแรง หุบร่มให้ที่

หัวขอ้ที่สี่ ฟังอย่างสร้างสรรค์และวิจารณ์
ยกตัวอย่าง เช่น การอธิบายปกนิทานให้เด็กรู้ก่อนว่าชื่อเรื่องว่าอย่างไร
หัวข้อที่ห้า ฟังแล้วทำตามคำสั่ง

เราได้ความรู้จากการที่เพื่อนๆมานำเสนอและได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในอนาคต

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 7 มกราคม 2552

การจัดสภาพแวดล้อม
จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้การจัดห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็กสนใจ โดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างเอิบอาบไปด้วยภาษาได้ตลอดเวลาการจัดสภาพแวดล้อมในมุมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างมีความหมายต่อเด็ก
- มุมบ้าน เด็กจะเข้ามาในบ้าน พูดคุยเล่นกัน มีการสื่อสารระหว่างกันขณะทำกิจกรรมต่างๆ เช่น รีดเสื้อผ้า ล้างชามในครัว ทำครัว ซึ่งช่วยให้เด็กพัฒนาตนเอง ได้เรียนรู้จากเพื่อน เตรียมกระดาษ ดินสอ ให้บันทึกข้อความจากการโทรศัพท์ถึงคุณแม่คุณพ่อมีการจดรายการเตรียมไปจ่ายตลาดกับคุณแม่
- มุมหมอ เด็กจะได้เล่นบทบาทสมมติเป็นหมอ เป็นคนไข้ ฝึกการใช้ภาษาในอธิบายอาการป่วยไข้ ใช้ภาษาสื่อสารกับคุณหมอ พยาบาล มีการนัดหมายกับหมอ โดยจดการนัดหมายลงในสมุดนัดคนไข้ คุณหมอมีการเขียนใบวินิจฉัยโรค และเขียนใบสั่งยาให้คนไข้ แม้เด็กจะยังเขียนไม่เป็น แต่ก็จะชอบหัดเขียน
- มุมตลาด เด็กได้ฝึกหัดการสนทนาสื่อสาร โต้ตอบระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย ใช้เครื่องมือ ชั่ง น้ำหนัก ตวง วัดปริมาณ คำนวณเงินในการใช้จ่าย เงินทอน
- มุมจราจร เด็กได้เรียนรู้สัญลักษณ์จราจร การปฏิบัติตามสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางต่างๆ รู้จักทิศทาง ซ้าย ขวา การแสดงบทบาทต่าง ๆ
*มุมที่ดีคือมุมที่ครูจัดสภาพแวดล้อม จัดวางกระดาษ ดินสอ สื่อ อุปกรณ์ หนังสือขั้นตอนการทำงานไว้ชัดเจนแล้วเด็กจะเข้าไปเล่นเรียนรู้ได้เองทั้งที่ต้องการและไม่ต้องการความช่วยเหลือจากครู เด็กจะสนทนาหรือขีดเขียนในสิ่งที่ ผู้ใหญ่อาจไม่เข้าใจ
กระบวนการเรียนรู้แบบธรรมชาติตามวัยวุฒิของเด็ก
ครูต้องมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจในตัวเด็กว่าเขาสามารถทำงานต่าง ๆ ได้ ถ้ามีความสนใจ มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเอง ซึ่งครูทุกคนต้องสังเกตตลอดเวลาให้เกิดเป็นประสบการณ์ตรงของครู สร้างองค์ความรู้ด้านพัฒนาการของเด็กที่เป็นความรู้ประจักษ์อยู่ในงานของครูเอง
บทบาทของครู
เชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้นซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิดหรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ครูเลือกและจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียนเพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอเพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ
บรรยากาศการสอนแนวใหม่
เด็กจะแสดงความต้องการให้ครูเห็นว่าเขาต้องการเขียนสิ่งที่มีความหมายสิ่งที่เขายากบอกให้ผู้อื่นเข้าใจ การเขียนระยะแรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิดซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของเด็กและความต้องการสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิกคล้ายตัวหนังสือหรือเขียนสะกดบางคําได้แต่ยังไม่ถูกต้อง
การประเมินผล
ครูพิจารณาจากการสังเกต การบันทึก การเก็บร่องรอยทางภาษาของเด็กขณะทํากิจกรรมต่างๆ และการสะสมชิ้นงาน เป็นการประเมินการเรียนรู้ภาษาจากสภาพจริง (authentic forms of assessment) มีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กมากกว่าการใช้แบบทดสอบทางภาษา

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 19 ธันวาคม 2551

ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทงภาษาแบบองค์รวม
"อ่าน-เขียน"

- เน้นความเข้าใจเเน้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
- การคาดคะเนโดยการเดาในขระเขียน อ่าน และสะกด เป็นสิ่งที่ได้รับในการเรียนรู้ภาษาธรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด- มีหนังสือ วัสดุสิ่งพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือกเพื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
- ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน
- ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดการอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ
- ครูสอนอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักการใช้หนังสือ การเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง
- เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิมซึ่งครูสามารถประเมินความสามารถการอ่านของเด็กแต่ละคนได้พร้อมกัน
- ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยืมไปนั่งอ่านเงียบ
- ให้เด็กได้ขีดเขียน วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจอย่างอิสระ
- ครูตรวจสอบสภาพการเขียนของเด็กแต่ละคนโดยการให้เด็กเล่าสิ่งที่เขียนหรือวาดให้ครูฟัง โดยครูอาจแนะนำการเขียนที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กพัฒนาการเขียนได้ด้วยตัวเด็กเองทุกวันโดยไม่มุ่งแก้คำผิดหรือทำลายการอยากเขียนของเด็ก

ความเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียน
ภาษาพูดกับภาษาเขียนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันโดยความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนความรู้มากขึ้น เมื่อเราพูดเล่า สนทนาโต้ตอบกัน
เราอ่านจากหนังสือประเภทต่างๆอ่านจากป้ายในทุกหนทุกแห่งที่สนใจ จะทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวต่างๆไปพร้อมๆกันช่วยให้เด็กมีความรู้เพิ่มพูนขึ้น
ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้น ด้วยการพูดคุยกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการแสดงออกโดยการพูด เด็กจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่ฟัง จากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง ซึ่งเด็กนำไปใช้เพื่อการสื่อสาร หรือแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรู้ความหมายของการเขียน** จุดสำคัญ คือผู้ใหญ่ต้องอ่านให้เด็กฟังเยอะๆ และสอนให้เด็กกวาดสายตา หาความหมายจากภาพ

ขั้นของพัฒนาการทางการอ่าน
ขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก พัฒนาการในขั้นนี้กู๊ดแมน เรียกว่า “รากเหง้าของการอ่าน เขียน”
ขั้นที่สอง จะผูกพันธ์กับตัวอักษรเพิ่มขึ้น เรียกชื่อได้หรืออ่านชื่อได้ถูกต้อง และเรียนรู้ที่อยู่(ตำแหน่ง)ของตัวอักษรได้
ขั้นที่สาม เด็กแยกแยะการใช้ตัวอักษร ตลอดจนระเบียบแบบแผนของตัวอักษร จะเริ่มอ่านหรือเขียนจากซ้ายไปขวา หากบอกให้เด็ก......ขั้นสุดท้าย ระบบตัวอักษร

การรับรู้ด้านพัฒนาการทางเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน
ระยะแรก แยกแยะความต่างระหว่าสัญลักษณ์ เช่น ม. กับ ฆ มีการจัดเรียงอักษรเป็นเส้นตรง บางครั้งจะใช้สัญลักษณ์แทนคำหนึ่งคำ เช่น คำว่า รัก สัญลักษณ์คือ ใจการเขียนจะสัมพันธ์กับตัวอักษรมากกว่ารูปร่าง จะมองเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
ระยะที่สอง เขียนตัวอักษรที่ต่างกับสำหรับคำพูดแต่ละคำพูด เด็กจะแสดงความแตกต่างของข้อความแต่ละข้อความโดยการเขียนอักษรที่ต่างกัน โดยมีลำดับและจำนวนอักษรตามที่เขาคิดว่าเหมาะสม เช่น จากอาจารย์ได้ยกตัวอย่างคือ "พจมรรน"(พี่จ๋ามาเร็วๆนะ)ใช้ตัวอักษรจำนวนจำกัดนี้เขียนทุกสิ่งที่เธอต้องการ ด้วยการจัดเรียงตัวอักษรเหล่านั้นให้มีลักษณะแตกต่างกันแล้วเธอบอกว่า “หนูไม่รู้วิธีการอ่าน แต่พ่อหนูรู้ค่ะ”เด็กจะเริ่มตระหนักเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการเขียนกับคำและความหมาย แม้ว่าเด็กยังไม่แยกความแตกต่างระหว่างเสียงและตัวอักษร
ระยะที่สาม เป็นลักษณะที่เด็กออกเสียงในขณะเขียนและการเขียนของเด็กจะเริ่มใกล้เคียงกับการเขียนตามแบบแผนเด็กจะใช้พยัญชนะเริ่มต้นคำแทนคำต่างๆ เช่น ข.ขน ข.แขน ข.ขิม ฯลฯ