วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 3 ธันวาคม 2551

"กระบวนการ"

"บรรยากาศการเรียน" มีลักษณะของการร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผน คือ คิดด้วยกันว่าจะทำอะไร ทำเมื่อไร ทำอย่างไร จำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาได้อย่างไร และใครจะช่วยทำงานในสว่นใดการวางแผนจะมีทั้งระยะยาว( long- range plans) เพื่อวางกรอบความคิดกว้างๆ
การวางแผนระยะสั้น(shot- range plans) โดยเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทำกิจกรรม
"การฟังและพูดของเด็ก"เด็กมีโอกาสได้ยินเสียงแม่พูด แม้ว่ายังพูดไม่ได้
เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาพูดเพราะการสอนเด็กใหพูดนั้นเด็กจำเป็นต้องได้ยิน ได้ฟังภาษาพูดก่อน ยิ่งได้ฟังมากจะเข้าใจชัดเจนขึ้น การเรียนรู้ประโยคพูดยาวๆ ทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
เด็กวัย 2-3 ขวบ การพูดของแม่จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการทางภาษาที่ดี การสนทนา การซักถาม เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งที่จำเป็นในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ในด้านการเข้าใจความหมายของภาษาจากเรื่องง่ายไปหาเรื่องที่ยากและสลับซับซ้อนมากขึ้น
ภาษามีบทบาทในการสื่อสารความคิดรวมไปถึงจินตนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนได้เป็นอย่างดี
"การอ่านและเขียนของเด็ก"
การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเป็นสิ่งจำเป็นในการให้โอกาสเด็กเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเขียน ขณะที่อ่านควรชี้นิ้วตามตัวหนังสือไปด้วย ทำให้เด็กเรียนรู้กฏเกณฑ์ทุกขั้นตอน สิ่งที่สำคัญคือ การให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องที่อ่านว่า สิ่งที่ประกอบกันขึ้น คือองค์รวมที่เป็นเนื้อหาที่นำเสนอระบบการคิดผ่านไวยากรณ์ของภาษา
ควรสนทนากับเด็กเกี่ยวกับกฏเกณฑ์ทางภาษาอย่างง่ายๆ เนื้อหาที่อ่านควรสัมพันธ์กับสิ่งๆรอบตัว และพยายามเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของเด็กตลอดเวลาเพื่อให้เห็นประโยชน์และความเกี่ยวพันของภาษาเขียนกับชีวิตจริง
จึงกล่าวได้ว่า การเขียน หมายถึง การสื่อสารเพื่อแสดงความคิดความรู้สึกออกมาอย่างความหมาย
การเขียนและการอ่านจะดำเนินการไปพร้อมกัน เนื่องจากการเป็นนักเขียนที่ดีนั้นต้องอาศัยการอ่านที่แตกฉานในเรื่องนั้นๆ ส่วนการฝึกฝนให้เด็กเขียนหนังสือนั้น ครูต้องตระหนักว่าการฝึกเขียนที่ให้ลอกเลียนแบบโดยเด็กไม่ได้ใช้ความคิดเเต่เป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือ หรือฝึกเฉพาะความสวยงามของลายมือแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับการเขียนที่มาจากความคิด
ภาษาที่ได้จากกาฝึกคิดและการถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นภาษาสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษรอย่างธรรมชาติจากการได้ฟังมาก ได้อ่านมาก จนสามารถถ่ายทอดเองได้ และมาฝึกฝนความถูกต้อง สวยงามภายหลัง ส่วนการอ่านนั้นสามารถทำได้ตลอดเวลาด้วยการอ่านจากหนังสือ จากถนน จากสิ่งรอบตัว จากป้ายโฆษณา จากถุงขนม
ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ และกิจกรรมที่จัดให้เด็กให้อ่านเงียบๆตามลำพัง การอ่านกับเพื่อนเป็นคู่ เป็นกลุ่มย่อย เพื่ออภิปรายร่วมกัน ในการรับฟังและการตรวจสอบความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกันโดยเฉพาะการอ่านจากสิ่งที่ ครู-เด็ก เรียนร่วมกัน หรือสิ่งที่เด็กเขียนขึ้นเอง

ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทงภาษาแบบองค์รวม
"อ่าน-เขียน"
- เน้นความเข้าใจเเน้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่- การคาดคะเนโดยการเดาในขระเขียน อ่าน และสะกด เป็นสิ่งที่ได้รับในการเรียนรู้ภาษาธรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

บันทึกการเข้าเรียนวันที่ 26 พฤศจิกายน 2551

วันนี้เรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งในวันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาธรรมชาติ ซึ่งมีเนื้อหาที่พอสรุปได้ดังนี้

การจัดประสบการณ์ทางภาษาธรรมชาติภาษา คือ สิ่งที่ใช้ในการสื่อสารภาษาธรรมชาติ (Whole Language Approaoh)

การสอนภาษาโดยองค์รวมนักการศึกษาได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาโดยองค์รวมไว้ว่า

-โคมินิวอุส
เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆได้ ด้วยการนำเสนอด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชีวิต เด็กจะเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้โดยการใช้ภาษาถิ่นหรือภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันของเด็ก

-กู๊ดแมน สมิท เมอร์ริดิธ
ความรู้จะเกิดขึ้นอย่างพรั่งพรูจากกระบวนการเรียนรู้และมีการพัฒนาภาษาพูด ภาษาเขียน ซึ่งครูจะเห็นได้ชัดจากการที่เด็กนั้นอาศัยภาษาสื่อ ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างมีความหมายในกระบวนการเรียนรู้ทั่วๆไปของเด็กในโรงเรียน
ครูใช้ภาษาจากทักษะด้านการ ฟัง พูด อ่าน เขียน แบบองค์รวมในทุกกิจกรรมในห้องเรียน เช่น การวิเคราะห์ เรื่องราวต่างๆ การแนะแนวหลักสูตร การทำจดหมายข่าว เป็นต้น ครูบางกลุ่มได้อธิบายการพัฒนาปรับเปลี่ยนการอ่านของเด็กจนเกิดแนวการใหม่ในการอ่านแบบภาษาธรรมชาติ

-จูดิท นิวแมน
การสอนภาษาโดยองค์รวมมีลักษณะเป็นปรัชญา ความคิดของผู้สอนโดยก่อตัวขึ้นจากหลักการสอนที่ผู้สอนนำมาบูรณาการและยังมีนักทฤษฏีบอกไว้ว่า

-จอห์น ดิวอี้
การเรียนรู้ทางภาษาของเด็กเกิดจากประสบการณ์ตรง โดยการลงมือกระทำด้วยตนเอง
ทฤษฏีนี้เป็นกุญแจสำคัญของการสะท้อนความความคิดต่อการสอนของครู( Reflective teaching)
ผู้เรียนต้องเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียน ครูผู้สอนควรบูรณาการด้านภาษาให้กลมกลืนไปกับการเรียนรู้ทุกเรื่องในหลักสูตร ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของนักทฤษฏีต่อไปนี้

-เพียเจท์
เด็กจะเรียนรู้ผ่านกิจกรรมด้วยการเคลื่อนใหวและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ ขั้นภายในตนเองโดยเด็กเป็นผู้กระทำ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการคิดด้วยตนเอง

จึงกล่าวได้ว่า การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมผ่านการเล่นวึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากกิจกรรมที่ทำร่วมกันและรายบุคคล

-ไวกอตสกี
การเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียง เช่น พ่อ แม่ เพื่อน ครู บริบทหรือสิ่งต่างๆรอบตัวมีอิทธิพลต่อเด็กในการช่วยเหลือให้ลงมือทำเป็นขั้นตอนผ่านการและกิจกรรมนำไส่รเรียนรู้ภาษาผ่านการใช้สัญลักษณ์

-ฮอลลิเดย์
บริบทสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ที่หลากหลายมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และการใช้ภาษาของเด็ก เด็กจะเป้นผู้ใช้ภาษาในการมรปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้ทุกสิ่งผ่านภาษาและเรียนเกี่ยวกับภาษาไปพร้อมๆกัน

-กู๊ด แมน
ภาษาเป็นเครื่องมืที่สำคัสำหรับชีวิตเด็ก เด็กต้องเรียนรู้ภาษาและต้องใช้ภาษาและต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ ดังนั้นครูต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับภาษา
หลังจากเรียนเนื้อหาแล้วอาจารย์ให้ทำกิจกรรม โดยให้เอาสิ่งที่เรารักมากที่สุดมาให้เพื่อนฟังซึ่งกิจกรรมนี้ข้าพเจ้าได้เสนอ "กิ๊บติดผม" เพราะเป็นสิ่งที่ยายซื้อให้ตอนกลับบ้านซึ่งซื้อให้เป็นแผงเลย
และสุดท้ายอาจาย์ยังได้ส่งงานให้ไปสัมภาษณ์เด็กว่าเด็กรักอะไรมากที่สุด...อีกด้วย

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

บันทึกการเรียน วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551

วันพุธที่ผ่านมา อาจารย์มีการนำเอาเนื้อหาในแต่ละวิชามาบูรณาการเข้าด้วยกัน ทั้งวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาฯ,วิชานิทานและหุ่นฯ และวิชาการจัดประสบการณ์ทางการเคลื่อนไหวและจังหวะฯ ทำให้สามารถเข้าใจง่ายขึ้นเนื้อหาที่เรียนพอสรุปได้ดังนี้นิทานมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาษา คือ
1) ทักษะการพูด
2) ทักษะการฟัง
3) ทักษะการแสดงออกด้วยท่าทาง
- ภาษาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ"สมอง" สมองของเด็กทำงานโดย "การซึมซับ" และ "ปรับปรุงสร้าง- เครื่องมือซึมซับของเด็กคือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอน และสะท้อนออกมาเป็นพฤติกรรม ที่จะบอกให้รู้ว่าเด็กทำอะไรได้-ไม่ได้ ไปตามลำดับอายุพัฒนาการของสมองของเด็ก มีดังนี้
เด็กแรกเกิด - 2 ปี เป็นขั้นของการซึมซับ
เด็กอายุ 2-4 ปี ใช้ภาษาและคำในการสื่อสาร
เด็กอายุ 4-6 ปี เริ่มใช้คำที่ดีขึ้น บอกเหตุผลได้ อย่างที่ตามองเห็น
เด็กอายุ 5 ปี เป็นขั้นอนุรักษ์ เริ่มให้เหตุผล ไม่ได้ตอบตามที่ตามองเห็น
- การใช้คำถามในการถามเด็ก (กิจกรรมวาดภาพ)
1) "หนูนึกถึงอะไรตอนวาดรูปคะ"
2) "รูปนี้หนูอยากให้เป็นอะไรคะ"
การเรียนครั้งนี้มีทั้งหมด 3 กิจกรรมด้วยกัน
กิจกรรมที่ 1 คือ อาจารย์ให้ร้องเพลงคนละ 1 เพลง ข้าพเจ้าได้ร้องเพลง "แปรงฟัน"
กิจกรรมที่ 2 คือ เป็นกิจกรรมบทบาทสมมติ อาจารย์ให้นำเสนอสินค้าของตัวเองที่คิดว่าเบื่อแล้ว นำเสนอขายให้ดึงดูดผู้บริโภคอยากซื้อมากที่สุด สินค้าที่ข้าพเจ้านำเสนอขายคือ "กรรไกร"กิจกรรมนี้สามารถนำมาสอนเด็กได้ โดยให้เด็กได้โฆษณา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) ใช้สื่อสารเพื่อบอกลักษณะเด่น คุณลักษณะเด่น ให้ผู้อื่นคล้อยตาม
2) ให้เด็กได้ พูด-ฟัง
3) เด็กได้สังเกตและดึงคุณสมบัติเด่น
4) เด็กได้วิเคราะห์และประโยชน์
กิจกรรมที่ 3 คือ กิจกรรมการกล่าวความดี คือ อาจารย์จะให้นั่งสมาธิและนึกถึงคุณความดีที่เราอยากกระทำ สิ่งที่ข้าพเจ้าอยากกระทำคือ "ตอบแทนผู้มีพระคุณ"

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความรู้สึก

รู้สึกดีที่ได้เรียน วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย และจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับความรู้ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยกับเพื่อนๆ และครูอาจารย์ เพื่อที่จะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคตได้