วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 7 มกราคม 2552

การจัดสภาพแวดล้อม
จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้การจัดห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็กสนใจ โดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างเอิบอาบไปด้วยภาษาได้ตลอดเวลาการจัดสภาพแวดล้อมในมุมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างมีความหมายต่อเด็ก
- มุมบ้าน เด็กจะเข้ามาในบ้าน พูดคุยเล่นกัน มีการสื่อสารระหว่างกันขณะทำกิจกรรมต่างๆ เช่น รีดเสื้อผ้า ล้างชามในครัว ทำครัว ซึ่งช่วยให้เด็กพัฒนาตนเอง ได้เรียนรู้จากเพื่อน เตรียมกระดาษ ดินสอ ให้บันทึกข้อความจากการโทรศัพท์ถึงคุณแม่คุณพ่อมีการจดรายการเตรียมไปจ่ายตลาดกับคุณแม่
- มุมหมอ เด็กจะได้เล่นบทบาทสมมติเป็นหมอ เป็นคนไข้ ฝึกการใช้ภาษาในอธิบายอาการป่วยไข้ ใช้ภาษาสื่อสารกับคุณหมอ พยาบาล มีการนัดหมายกับหมอ โดยจดการนัดหมายลงในสมุดนัดคนไข้ คุณหมอมีการเขียนใบวินิจฉัยโรค และเขียนใบสั่งยาให้คนไข้ แม้เด็กจะยังเขียนไม่เป็น แต่ก็จะชอบหัดเขียน
- มุมตลาด เด็กได้ฝึกหัดการสนทนาสื่อสาร โต้ตอบระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย ใช้เครื่องมือ ชั่ง น้ำหนัก ตวง วัดปริมาณ คำนวณเงินในการใช้จ่าย เงินทอน
- มุมจราจร เด็กได้เรียนรู้สัญลักษณ์จราจร การปฏิบัติตามสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางต่างๆ รู้จักทิศทาง ซ้าย ขวา การแสดงบทบาทต่าง ๆ
*มุมที่ดีคือมุมที่ครูจัดสภาพแวดล้อม จัดวางกระดาษ ดินสอ สื่อ อุปกรณ์ หนังสือขั้นตอนการทำงานไว้ชัดเจนแล้วเด็กจะเข้าไปเล่นเรียนรู้ได้เองทั้งที่ต้องการและไม่ต้องการความช่วยเหลือจากครู เด็กจะสนทนาหรือขีดเขียนในสิ่งที่ ผู้ใหญ่อาจไม่เข้าใจ
กระบวนการเรียนรู้แบบธรรมชาติตามวัยวุฒิของเด็ก
ครูต้องมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจในตัวเด็กว่าเขาสามารถทำงานต่าง ๆ ได้ ถ้ามีความสนใจ มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเอง ซึ่งครูทุกคนต้องสังเกตตลอดเวลาให้เกิดเป็นประสบการณ์ตรงของครู สร้างองค์ความรู้ด้านพัฒนาการของเด็กที่เป็นความรู้ประจักษ์อยู่ในงานของครูเอง
บทบาทของครู
เชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้นซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิดหรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ครูเลือกและจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียนเพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอเพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ
บรรยากาศการสอนแนวใหม่
เด็กจะแสดงความต้องการให้ครูเห็นว่าเขาต้องการเขียนสิ่งที่มีความหมายสิ่งที่เขายากบอกให้ผู้อื่นเข้าใจ การเขียนระยะแรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิดซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของเด็กและความต้องการสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิกคล้ายตัวหนังสือหรือเขียนสะกดบางคําได้แต่ยังไม่ถูกต้อง
การประเมินผล
ครูพิจารณาจากการสังเกต การบันทึก การเก็บร่องรอยทางภาษาของเด็กขณะทํากิจกรรมต่างๆ และการสะสมชิ้นงาน เป็นการประเมินการเรียนรู้ภาษาจากสภาพจริง (authentic forms of assessment) มีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กมากกว่าการใช้แบบทดสอบทางภาษา

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 19 ธันวาคม 2551

ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทงภาษาแบบองค์รวม
"อ่าน-เขียน"

- เน้นความเข้าใจเเน้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
- การคาดคะเนโดยการเดาในขระเขียน อ่าน และสะกด เป็นสิ่งที่ได้รับในการเรียนรู้ภาษาธรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด- มีหนังสือ วัสดุสิ่งพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือกเพื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
- ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน
- ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดการอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ
- ครูสอนอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักการใช้หนังสือ การเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง
- เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิมซึ่งครูสามารถประเมินความสามารถการอ่านของเด็กแต่ละคนได้พร้อมกัน
- ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยืมไปนั่งอ่านเงียบ
- ให้เด็กได้ขีดเขียน วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจอย่างอิสระ
- ครูตรวจสอบสภาพการเขียนของเด็กแต่ละคนโดยการให้เด็กเล่าสิ่งที่เขียนหรือวาดให้ครูฟัง โดยครูอาจแนะนำการเขียนที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กพัฒนาการเขียนได้ด้วยตัวเด็กเองทุกวันโดยไม่มุ่งแก้คำผิดหรือทำลายการอยากเขียนของเด็ก

ความเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียน
ภาษาพูดกับภาษาเขียนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันโดยความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนความรู้มากขึ้น เมื่อเราพูดเล่า สนทนาโต้ตอบกัน
เราอ่านจากหนังสือประเภทต่างๆอ่านจากป้ายในทุกหนทุกแห่งที่สนใจ จะทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวต่างๆไปพร้อมๆกันช่วยให้เด็กมีความรู้เพิ่มพูนขึ้น
ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้น ด้วยการพูดคุยกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการแสดงออกโดยการพูด เด็กจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่ฟัง จากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง ซึ่งเด็กนำไปใช้เพื่อการสื่อสาร หรือแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรู้ความหมายของการเขียน** จุดสำคัญ คือผู้ใหญ่ต้องอ่านให้เด็กฟังเยอะๆ และสอนให้เด็กกวาดสายตา หาความหมายจากภาพ

ขั้นของพัฒนาการทางการอ่าน
ขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก พัฒนาการในขั้นนี้กู๊ดแมน เรียกว่า “รากเหง้าของการอ่าน เขียน”
ขั้นที่สอง จะผูกพันธ์กับตัวอักษรเพิ่มขึ้น เรียกชื่อได้หรืออ่านชื่อได้ถูกต้อง และเรียนรู้ที่อยู่(ตำแหน่ง)ของตัวอักษรได้
ขั้นที่สาม เด็กแยกแยะการใช้ตัวอักษร ตลอดจนระเบียบแบบแผนของตัวอักษร จะเริ่มอ่านหรือเขียนจากซ้ายไปขวา หากบอกให้เด็ก......ขั้นสุดท้าย ระบบตัวอักษร

การรับรู้ด้านพัฒนาการทางเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน
ระยะแรก แยกแยะความต่างระหว่าสัญลักษณ์ เช่น ม. กับ ฆ มีการจัดเรียงอักษรเป็นเส้นตรง บางครั้งจะใช้สัญลักษณ์แทนคำหนึ่งคำ เช่น คำว่า รัก สัญลักษณ์คือ ใจการเขียนจะสัมพันธ์กับตัวอักษรมากกว่ารูปร่าง จะมองเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
ระยะที่สอง เขียนตัวอักษรที่ต่างกับสำหรับคำพูดแต่ละคำพูด เด็กจะแสดงความแตกต่างของข้อความแต่ละข้อความโดยการเขียนอักษรที่ต่างกัน โดยมีลำดับและจำนวนอักษรตามที่เขาคิดว่าเหมาะสม เช่น จากอาจารย์ได้ยกตัวอย่างคือ "พจมรรน"(พี่จ๋ามาเร็วๆนะ)ใช้ตัวอักษรจำนวนจำกัดนี้เขียนทุกสิ่งที่เธอต้องการ ด้วยการจัดเรียงตัวอักษรเหล่านั้นให้มีลักษณะแตกต่างกันแล้วเธอบอกว่า “หนูไม่รู้วิธีการอ่าน แต่พ่อหนูรู้ค่ะ”เด็กจะเริ่มตระหนักเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการเขียนกับคำและความหมาย แม้ว่าเด็กยังไม่แยกความแตกต่างระหว่างเสียงและตัวอักษร
ระยะที่สาม เป็นลักษณะที่เด็กออกเสียงในขณะเขียนและการเขียนของเด็กจะเริ่มใกล้เคียงกับการเขียนตามแบบแผนเด็กจะใช้พยัญชนะเริ่มต้นคำแทนคำต่างๆ เช่น ข.ขน ข.แขน ข.ขิม ฯลฯ